ทำความรู้จักกับกระรอก





กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ยังเล็กอยู่ เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้
อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน
แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลงและอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้นออกจากอาณาเขตของตนไป หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน  

..เขตที่พบกระรอก...
กระรอกเป็นสัตว์ที่พบว่ามีอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นในทวีปออสเตรเลีย, ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้, และบริเวณทะเลทราย  กระรอกสามารถอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงเขตอาร์คติกทุนดรา   และจากชั้นเรือนยอดของต้นไม้ไปจนถึงโพรงใต้ดิน

...ถิ่นที่อยู่อาศัย...
โดยส่วนใหญ่แล้วกระรอกจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.8 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1455 มม. จะสามารถพบกระรอกได้มากในป่าเขตอบอุ่นโดยเฉพาะป่าที่มีไม้ผลมาก สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบเห็นกระรอกได้ทุกภูมิภาค แต่จะพบได้มากที่ภาคใต้และพบว่ามีจำนวนน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระรอกบางพันธุ์นั้นจะสามารถพบได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น พญากระรอกเหลือง กระรอกสามสี กระรอกหางม้าใหญ่ กระรอกหน้ากระแต ซึ่งกระรอกเหล่านี้ล้วนเป็นกระรอกพันธุ์หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์

...อาหารของกระรอก...
กระรอกในประเทศไทยนั้นก็มีลักษณะการหาอาหารคล้ายกับกระรอกต้นไม้อื่นๆ คือ ดำรงชีวิตด้วยการกินใบไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง ผลไม้เปลือกแข็ง และโคนต้นสน กระรอกเหล่านี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ แต่บางเวลาหากินบนพื้นดิน และแน่นอนว่าอาหารส่วนใหญ่ของกระรอกล้วนเกี่ยวกับต้นไม้ ทำให้กระรอกมักจะเก็บสะสมอาหารอยู่บนกิ่งไม้ กระรอกมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอาหารตามฤดู ในฤดูหนาว กระรอกจะกินดอกที่ยังอ่อนๆ ของต้นแต้ฮวย ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดไป จากนั้นกระรอกจะเปลี่ยนมากินใบไม้ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนกระรอกก็จะเริ่มกินผลไม้ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง กระรอกจะกินแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมดที่กำลังกักตุนอาหารก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือน

...พฤติกรรมการกินอาหารของกระรอก...
- อาหารหลัก : กระรอกเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมากจะกินผลไม้และธัญพืช
- อาหารที่เป็นสัตว์ : แมลง บางครั้งกระรอกจะกินแมลงเมื่อต้องการแร่ธาตุบางชนิด
- อาหารที่เป็นพืช : ได้แก่ ใบไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้
- พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการสะสมหรือซ่อนอาหารไว้กินในฤดูหนาว

...การสืบพันธุ์...
กระรอกมีการสืบพันธุ์แบบ promiscuous หรือ polygynandrous คือตัวผู้หรือตัวเมียหลายๆ ตัวผสมกับเพศตรงข้าม 1 ตัว ในวันที่ตัวผู้เป็นสัด ตัวผู้หลายตัวจะมารวมกันล้อมรอบตัวเมียและเริ่มส่งเสียงร้อง การส่งเสียงร้องนี้เป็นการเริ่มต้นแข่งขันกันในหมู่ตัวผู้ ซึ่งจะมีตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะและได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวนั้น ตัวผู้ตัวที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมียในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ของตัวเมียนั้นได้รับการผสมจากตนเอง แต่ถ้าจำนวนตัวผู้ที่เข้าแย่งชิงนั้นมีจำนวนมาก ตัวผู้ตัวนั้นก็อาจไปจากตัวเมีย และตัวเมียก็อาจจะเริ่มผสมกับตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะตัวผู้ตัวอื่นๆ ที่เข้ามาในขณะนั้น
หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ในตอนแรกตัวเมียจะออกสำรวจหาบริเวณและสร้างรังในบริเวณที่เหมาะสมและค่อนข้างปลอดภัย พฤติกรรมนี้จะพบมากที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ตรงกับฤดูผสมพันธุ์ของกระรอก ภายในรังของกระรอกนั้นพบว่า แม่กระรอกสามารถให้กำเนิดลูกได้ครั้งละหลายตัว

...อายุขัยของกระรอก...
ยังไม่เคยมีการรายงานเป็นตัวเลขที่แน่นอนแต่สำหรับกระรอกที่ถูกคนเลี้ยงดูนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 17 ปี และบางพันธุ์อาจมีอายุยืนถึง 21 ปี (เลี้ยงขังในกรง) เช่น กระรอกสามสี
 ศัตรูตามธรรมชาติ
ในธรรมชาตินั้น กระรอกมีศัตรูคือสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น อีเห็น ชะมด พังพอน แมวป่า รวมทั้งเหยี่ยว นอกจากนี้ กระรอกอาจถูกคนจับมาขายหรือฆ่าทิ้งเนื่องจากทำลายผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะกระรอกที่ไปอาศัยในสวนปาล์ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น